วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2559

การเลี้ยงปลา




การเลี้ยงปลาช่อน


การเลี้ยงปลากินพืชในบ่ดิน


การเลี้ยงปลานิล

วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2559

ลักษณะของปลา




รูปร่างและลักษณะนิสัย
ปลานิลเป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง (อยู่ในตระกูล Cichlidac) มีถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ที่แอฟริกาพบทั่วไปตามหนอง บึง และทะเลสาบในประเทศซูดาน ยูกันดา แทนแกนยิกา เนื่องจากปลาชนิดนี้เลี้ยงง่าย สามารถกินพืชและอาหารได้เกือบทุกชนิด รวมทั้งเศษอาหารต่าง ๆ สามารถแพร่ขยายพันธ์ได้ในสภาวะทั่ว ๆ ไปและเติบโตเร็ว นอกจากนี้ ปลานิลยังเป็นปลาที่มีรสดี สามารถนำมาเป็นอาหารได้หลายอย่าง และมีคนนิยมไปทำตากแห้งแบบปลาสลิดได้ ปัจจุบันปลานิลเป็นปลาที่นิยมบริโภคในหมู่ประชาชนทั่วไป
ปลานิลมีรูปร่างลักษณะคล้ายปลาหมอเทศ ลักษณะพิเศษของปลานิลนั้น มีริมฝีปากบนและล่างเสมอกัน มีเกล็ด 4 แถวตรงบริเวณแก้ม และจะมีลายพาดขวางลำตัวประมาณ 9 – 10 แถว มีนิสัยชอบอาศัยอยู่รวมกัน เป็นฝูงตามแม่น้ำลำคลอง หนอง บึง และทะเลสาบ เป็นปลาที่อยู่ได้ทั้งน้ำจืดและน้ำกร่อย มีความอดทน และสามารถปรับตัวให้เข้ากับธรรมชาติได้ง่าย เหมาะสมที่จะน้ำมาเพาะเลี้ยงในบ่อได้เป็นอย่างดี
ในประเทศไทยพบปลานิลสีเหลืองขาว – ส้ม ซึ่งเป็นการกลายพันธ์จากปลานิลสีปกติ หรือเป็นการผสมข้ามพันธ์ระหว่าง ปลานิลกับปลาหมอเทศ ซึ่งนอกจากสีภายนอกที่แตกต่างจากปลานิลธรรมดาแล้ว ภายในตัวปลาที่ผนังช่องท้อง ยังเป็นสีขาวเงินคล้ายผนังช่องท้องของปลากินเนื้อ และสีของปลาเป็นสีขาวชมพูคล้ายปลากะพงแดง ซึ่งเป็นที่นิยมรับประทานในต่างประเทศ มีชื่อเรียกเป็นที่รู้จักกันว่า “ปลานิลแดง”

ลักษณะ
ความยาวยาวประมาณ 10-13 เซนติเมตร ใหญ่สุดพบถึง 20 เซนติเมตร มีพฤติกรรมการวางไข่โดยตัวผู้และตัวเมียช่วยกันปรับที่วางไข่ โดยวางไข่ลอยเป็นแพ แต่จะปล่อยให้ลูกปลาเติบโตขึ้นมาเอง
ปลาหมอเป็นปลาที่สามารถพบได้ในทุกแหล่งน้ำ กระจายอยู่ทั่วไปในทวีปเอเชีย สำหรับในประเทศไทยพบทุกภาค และเป็นปลาที่คนไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี ด้วยใช้เป็นอาหารมาช้านาน และมีความเชื่อว่าหากปล่อยปลาหมอจะทำให้ไม่เป็นโรคหรือหายจะโรคได้ ด้วยชื่อที่มีความหมายถึงหมอหรือแพทย์ผู้รักษาโรค และนิยมเลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจในปัจจุบัน อีกทั้งในปลาที่มีสีกลายไปจากสีปกติ เช่น สีทองยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ที่มีราคาขายแพงอีกด้วยมีชื่อเรียกอื่น ๆ เช่น ปลาหมอไทย, ปลาเข็งหรือสะเด็ดในภาษาอีสาน เป็นต้น


ลักษณะทั่วไป
ในบรรดาปลาจีนทั้ง 3 ชนิดนี้ ปลาลิ่นและปลาซ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกันมากที่สุด จะสังเกตุความแตกต่างได้จากลักษณะของหัว ซึ่งปลา ซ่งมีหัวค่อนข้างโตเมื่อเทียบกับลำตัว จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ปลาหัวโต (Bighead carp) ไม่มีสันบริเวณท้อง ตรงข้ามกับปลาลิ่นซึ่งมีหัวขนาดเล็ก กว่าและมีสันแหลมบริเวณท้อง ปลาทั้งสองชนิดนี้มีเกล็ดสีเงินแวววาว แต่บางครั้งเกล็ดของปลาซ่งจะมีสีดำเป็นจุดอยู่บนเกล็ดบางส่วน สำหรับปลาเฉานั้นมี เกล็ดขนาดใหญ่ นอกจากนั้นลำตัวยังกลมและยาวมากกว่า ส่วนหลังมีสีดำน้ำตาล ส่วนท้องสีขาว


รูปร่างพันธุ์ปลาแรด
ปลาแรดเป็นปลาในตระกูลเดียวกับปลาหมอไทย ปลาหมอตาล ปลากริม ปลากัดปลากระดี่นาง ปลากระดี่หม้อ ปลาสลิด ซึ่งปลาในครอบครัวนี้มีลักษณะเด่นคือ เป็นปลาที่ ค่อนข้างอดทน มีลำตัวสั้นป้อมและแบนข้าง หัวค่อนข้างเล็ก ปลาเล็กเฉียงขึ้นยึดหดได้ ฟันแข็งแรง เกล็ดใหญ่ ลำตัวมี น้ำตาลอ่อนหรือค่อนข้างเทา ครีบหลังครีบก้นยาวมาก ครีบหลังมีจำนวนก้านครีบแข็ง 12-16 อัน ก้านครีบอ่อน 10-11 อัน ครีบก้นมีก้านครีบ แข็ง 9-13 อัน ก้านครีบอ่อน 17-18 อัน ครีบท้องมีก้านครีบแข็ง 1 อัน ก้านครีบอ่อน 5 อัน ก้านครีบอ่อนคู่แรกของครีบท้องมีลักษณะเป็นเส้นยาว ครีบหางกลม เกล็ดตาม เส้นข้างตัว 30-33 เกล็ด มีจุดดำที่โคนหาง 1 จุด สีดำจางเป็นแถบพาดขวางลำตัว ข้างละ 8 แถบ มีสีเงินรอบ ๆ จุดทำให้แลเห็นจุดเด่นขึ้น ลักษณะเช่นนี้ดูคล้ายกระดี่หม้อ แต่ปลากระดี่หม้อมีจุดดำข้างละ 2 จุด เมื่อโตมีนอที่หัว สีตอนบนของลำตัวค่อนข้างเป็น สีน้ำตาลปนดำ ตอนล่างมีสีเงินแกมเหลือง ส่วนจุดที่โคนหางจะเลือนหาย


รูปร่างลักษณะ
ปลาดุกอุยเป็นปลาไม่มีเกล็ด รูปร่างเรียวยาว ด้านข้างแบน หัวแบนลง กะโหลกท้ายทอยป้านและโค้งมน เงี่ยงที่ครีบหูมีฟันเลื่อยด้านนอกและ ด้านในครีบหลัง ครีบก้น ครีบหางแยกจากกัน ปลายครีบหางกลมมน มีหนวด 4 คู่ มีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจอยู่บริเวณช่องเหงือกมีทรวดทรงคล้ายต้นไม้ เล็กๆ ลำตัวมีสีน้ำตาลจนดำถึงเข้มซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม เป็นปลาตระกูล Clarias เช่นเดียวกันกับปลาดุกด้าน แต่ปลาดุกอุยแตกต่างจากปลาดุกด้านที่ตรง บริเวณปลายกระดูกท้ายทอยมีลักษณะมนโค้ง  นอกจากนี้ปลาดุกอุยเป็นปลาที่แข็งแรงอดทนต่อการขาดออกซิเจนได้ดีเหมือนกับปลาหมอ ปลาช่อน
ปลาดุกด้าน และปลาสลิด ฯลฯ


รูปร่างลักษณะ
ปลานวลจันทร์เทศเป็นปลามีเกล็ด วงศ์เดียวกับปลาตะเพียนขาว ปลาไน ฯลฯ มีรูปร่างป้อม ด้านข้างค่อนข้างแบน ความยาวของส่วนหัวเป็น 1/5 ของความยาวของส่วนตัว ความกว้างของส่วนหัวเท่ากับส่วนยาวหลังลูกตา ซึ่งอยู่ส่วนล่างและเป็นครึ่งหนึ่งของส่วนหัว มีหนวด 1 คู่ ฐานของครีบหลังอยู่ใกล้มาทางจะงอยปากมากกว่าฐานของครีบหาง ขนาดของเกล็ดปานกลาง เกล็ดเส้นข้างตัว 40-45 เกล็ด ครีบหางเว้าลึก ลำตัวมีสีเงิน และมีสีเทาเข้มทางด้านหลัง ส่วนบริเวณครีบอก ครีบท้อง และครีบก้นมีสีชมพูอ่อน ตามีสีทอง
ปลากดเหลือง ปลาน้ำจืดในอันดับปลาหนัง (Siluriformes) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hemibagrus filamentus อยู่ใ
ปร่างลักษณะ
       ปลากดเหลืองเป็นปลาน้ำจืดที่ไม่มีเกล็ด ลำตัวกลมยาว หัวค่อนข้างแบนเรียวเป็นรูปกรวย (conical) กระดูกท้ายทอยยาวถึงโคนครีบหลัง ตาไม่มีหนังปกคลุม ปากกว้าง ขากรรไกรแข็งแรง มีฟันซี่เล็กๆ สั้นปลายแหลมเป็นกลุ่ม หรือเป็นแผ่นบนขากรรไกรบน ขากรรไกรล่าง และบนเพดานปากซี่กรองสั้นเล็กปลายแหลม มี๑๕ ซี่ มีหนวด ๔ คู่คือที่บริเวณจมูก ริมฝีปากบน ริมฝีปากล่าง และใต้คางอย่งละ ๑ คู่ ซึ่งหนวดคู่แรกและหนวดคู่สุดท้าย จะมีความยาวสั้นกว่าหนวดคู่ที่สองและคู่ที่สามครีบหลังไม่สูงเป็นครีบเดี่ยวอยู่กลางหลัง มีก้านครีบแข็ง ๑ ก้าน และก้านครีบอ่อน ๗ ก้าน ครีบไขมันเจริญดีอยู่บนหลังตามส่วนท้ายของลำตัว และอยู่ตรงข้ามกับครีบก้น ครีบก้นมีก้านครีบอ่อน ๑๐-๑๑ ก้าน ครีบหูเป็นครีบคู่อยู่หลังบริเวณเหงือก มีเงี่ยงแข็งและแหลมคม ๑ คู่ มีก้านครีบอ่อนข้างละ ๙ ก้าน ครีบท้องมีก้านครีบอ่อน ๖-๗ ก้าน ครีบหางเว้าลึกแฉกบนยาวกว่าแฉกล่างประกอบด้านก้านครีบอ่อน ๑๖-๑๗ ก้าน


ลักษณะทั่วไป     ปลาช่อนเป็นปลามีเกล็ด ลำตัวอ้วนกลมและยาวเรียว ท่อนหางแบนข้าง หัวแบนลงเกล็ดมีขนาดใหญ่และเกล็ดตามลำตัวเป็นสีเทาจนถึงน้ำตาลอมเทา ปากกว้างมาก มุมปากยาวถึงตา   ริมฝีปากล่างยื่นยาวกว่าริมฝีปากบน   มีฟันซี่เล็กๆอยู่บนขากรรไกรทั้งสองข้าง   ตามีขนาดใหญ่   ครีบทุกครีบไม่มีก้านครีบแข็ง  ครีบหลังและครีบก้นยาวจนเกือบถึงโคนหาง ครีบหลังมีก้านครีบ 38-42อัน ครีบก้นมีก้านครีบ 24-26 อัน ครีบอกมีขนาดใหญ่ ครีบท้องมีขนาดเล็ก ครีบหางกลม โคนครีบหางแบนข้างมาก ลำตัวส่วนหลังมีสีดำ ท้องสีขาว ด้านข้างลำตัวมีลายดำพาดเฉียง เกล็ดตามเส้นข้างลำตัวมีจำนวน49-55 เกล็ด และมีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจ ปลาช่อนจึงมีความอดทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดี อยู่ในที่ชื้นๆได้นาน และสามารถเคลื่อนไหวไปมาบนบกหรือฝังตัวอยู่ในโคลนได้เป็นเวลานานๆ


ปร่างลักษณะ

   ปลาตะเพียนขาวมีลักษณะลำตัวแบนข้าง หัวเล็ก ปากเล็ก ริมฝีปาก ขอบส่วนหลังโค้งยกสูงขี้นความยาวจากสุดหัวจรดปลายหาง 2.5 เท่า ของความสูง จะงอยปากแหลม มีหนวดเส้นเล็กๆ 2 คู่ ต้นของครีบหลังอยู่ตรงข้ามกับเกล็ด ที่สิบของเส้นข้างตัว เกล็ดตามแนวเส้นข้างตัวมี 29 -31 เกล็ด ลำตัวมีสีเงิน ส่วน หลังมีสีคล้ำ ส่วนท้องสีขาว ที่โคนของเกล็ดมีสีเทาจนเกือบดำ ปลาตะเพียนขาว ขนาดโตเต็มที่มีลำตัวยาวสูงสุดถึง 50 เซนติเมตร 


รูปร่างลักษณะและนิสัย
      
ปลาไน เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง เป็นปลาที่มีร่างกายแข็งแรง รูปร่างลักษณะคล้ายปลาตะเพียน มีเกล็ดกลมใหญ่ทั่วตัว นอกจากส่วนหัวไม่มีเกล็ดปากเล็กไม่มีฟัน ริวฝีปากหนาและมีหนวดสี่เส้น ครีบหลังเป็นครีบเดี่ยวยาวส่วนสีของปลาไน แม้จะไม่เหมือนกันตามภูมิประเทศที่อยู่ของมันก็ตาม โดยมากมักจะเป็นสีเงินปนเทา บางทีก็เหลืองอ่อน บางตังจะเป็นสีทองตลอดตัว
      ปลาไนชอบอาศัยอยู่ตามแม่น้ำ ลำคลอง หนองบึง ที่มีพื้นเป็นดินโคลนแระแสน้ำไหลอ่อนเกือบจะนิ่ง ชอบอยู่ในน้ำอุ่นมากกว่าน้ำเย็น ไม่ชอบน้ำใสจนเกินไป ปกติชอบวางไข่ในที่ตื้น เป็นปลาที่อดทนต่อดินฟ้าอากาศ ปรับตัวเข้ากับธรรมชาติได้รวดเร็ว ปกติปลาไนมีนิสัยขี้ขลาด แต่ก็สามารถฝึกให้เชื่องได้โดยวิธีการให้อาหาร กล่าวคือ ต้องระวังอย่าให้ปลาตกใจหรือกลัวจนเกินไปหากว่ากลัวหรือตกใจเสียครั้งหนึ่งแล้ว กว่าจะทำให้คุ้นเคยหรือเชื่องได้อีกก็กินเวลานาน

วันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2559

ประวัติและความเป็นมา



ประวัติและความเป็นมา

ประวัติและความเป็นมาของปลานิล


 

 ปลานิล เป็นปลาที่นำมาจากต่างประเทศ โดยเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ.2508 พระเจ้าจักรพรรดิ อากิฮิโต ซึ่งขณะดำรงพระอิสริยยศ มกุฎราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่น ได้ทรงจัดส่งปลานิลจำนวน 50 ตัว ความยาวเฉลี่ยตัวละประมาณ 9 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 14 กรัม มาทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยระยะแรกได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปล่อยเลี้ยงในบ่อดิน เนื้อที่ประมาณ 10 ตารางเมตร ในบริเวณสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต เมื่อเลี้ยงมาได้ 5 เดือนเศษ ปรากฏว่ามีลูกปลาเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหน้าที่สวนหลวงขุดบ่อขึ้นใหม่อีก 6 บ่อ มีเนื้อหาเฉลี่ยบ่อละประมาณ 70 ตารางเมตร ซึ่งในโอกาสนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงย้ายปลานิลด้วยพระองค์เองจากบ่อเดิมไปปล่อยในบ่อใหม่ทั้ง 6 บ่อ เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2508 ต่อจากนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ มอบหมายให้กรมประมงจัดส่งเจ้าหน้าที่วิชาการมาตรวจสอบการเจริญเติบโตเป็นประจำทุกเดือน
เนื่องจากคุณสมบัติของปลานิลเป็นปลาจำพวกกินพืช เลี้ยงง่าย มีรสดี ออกลูกดก เจริญเติบโตได้รวดเร็ว ในระยะเวลา 1 ปี จะมีน้ำหนักประมาณครึ่งกิโลกรัมและมีความยาวประมาณ 1 ฟุต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้มีพระราชประสงค์ที่จะให้ปลานี้แพร่ขยายพันธุ์ อันจะเป็นประโยชน์แก่พสกนิกรของพระองค์สืบต่อไป


ประวัติและความเป็นมาของปลาหมอ



  ปลาหมอ ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Anabas testudineus ในวงศ์ปลาหมอ (Anabantidae) มีรูปร่างป้อม ลำตัวแบนข้าง ตาโต ปากกว้าง ขอบฝาปิดเหงือกหยักแข็ง เกล็ดใหญ่คลุมทั้งลำตัว มีขอบเกล็ดแบบหยัก ผิวสาก เส้นข้างลำตัวขาดตอน ครีบหลังยาวเกือบเท่าความยาวลำตัว มีก้านครีบแข็งแหลมคมจำนวนมากเช่นเดียวกับครีบก้น แต่ครีบก้นสั้นกว่า ครีบอกเล็กเป็นรูปไข่ ครีบหางปลายมน ตัวมีสีเขียวมะกอกและมีลายประสีคล้ำที่ข้างลำตัว ครีบใส ลำตัวด้านท้องมีสีเหลือง ขอบฝาปิดเหงือกตอนบนมีแต้มสีคล้ำ มีอวัยวะช่วยหายใจเป็นแผ่นริ้วย่น ๆ อยู่ตอนบนของของช่องเหงือก จึงสามารถฮุบอากาศจากบนผิวน้ำได้โดยตรงโดยไม่ต้องรอให้ออกซิเจนละลายในน้ำ และสามารถอยู่บนบกหรือพื้นที่ขาดน้ำได้เป็นระยะเวลานาน ๆ ซึ่งในฤดูฝนบางครั้งจะพบปลาหมอแถกเหงือกไถลคืบคลานไปบนบกเพื่อหาที่อยู่ใหม่ได้ ด้วยความสามารถอันนี้ในภาษาอังกฤษจึงเรียกปลาชนิดนี้ว่า “Climbing perch” หรือ “Climbing gourami”
ความยาวยาวประมาณ 10-13 เซนติเมตร ใหญ่สุดพบถึง 20 เซนติเมตร มีพฤติกรรมการวางไข่โดยตัวผู้และตัวเมียช่วยกันปรับที่วางไข่ โดยวางไข่ลอยเป็นแพ แต่จะปล่อยให้ลูกปลาเติบโตขึ้นมาเอง
ปลาหมอเป็นปลาที่สามารถพบได้ในทุกแหล่งน้ำ กระจายอยู่ทั่วไปในทวีปเอเชีย สำหรับในประเทศไทยพบทุกภาค และเป็นปลาที่คนไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี ด้วยใช้เป็นอาหารมาช้านาน และมีความเชื่อว่าหากปล่อยปลาหมอจะทำให้ไม่เป็นโรคหรือหายจะโรคได้ ด้วยชื่อที่มีความหมายถึงหมอหรือแพทย์ผู้รักษาโรค และนิยมเลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจในปัจจุบัน อีกทั้งในปลาที่มีสีกลายไปจากสีปกติ เช่น สีทองยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ที่มีราคาขายแพงอีกด้วยมีชื่อเรียกอื่น ๆ เช่น ปลาหมอไทย, ปลาเข็งหรือสะเด็ดในภาษาอีสาน เป็นต้น

ประวัติและความเป็นมาของปลาจีน


ปลาจีนเป็นชื่อที่ใช้เรียกปลา 3 ชนิด คือ ปลาเฉาหรือเฉาฮื้อ หรือปลากินหญ้า ปลาลิ่นหรือปลาลิ่นฮื้อ หรือปลาเกล็ดเงิน และปลาซ่งหรือซ่ง ฮื้อหรือปลาหัวโต ปลาทั้งสามชนิดนี้เป็นปลาที่นำเข้ามาจากประเทศจีน เมื่อนำมาเลี้ยงในประเทศไทย พบว่า ปลาทั้งสามชนิดนี้เจริญเติบโตได้ดีโดยเฉพาะ การเลี้ยงในบ่อที่มีขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตาม ปลาจะไม่วางไข่ในบ่อเลี้ยง จึงจำเป็นต้องเพาะพันธุ์ดดยวิธีการฉีดฮอร์โมนผสมเทียม



ประวัติและความเป็นมาของปลาแรด



ปลาแรด (Giant Gouramy) Osphronemus goramy (Lacepede) เป็นปลาน้ำจืด ขนาดใหญ่ของไทยชนิดหนึ่ง ปลาขนาดใหญ่ที่พบมีน้ำหนัก 6-7 กิโลกรัม ความยาว 65 เซนติเมตร เป็นปลาจำพวกเดียวกับปลากระดี่และปลาสลิด แต่มีขนาดใหญ่กว่ามาก มีเนื้อแน่นนุ่ม เนื้อมากไม่ค่อยมีก้าง รสชาติดี จึงได้รับความนิยมจากประชาชนผู้บริโภค ทั้งในประเทศและต่างประเทศ สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิด เช่น ทอด เจี๋ยน ต้มยำ แกงเผ็ด ลาบปลา และน้ำยา ฯลฯ ในระยะหลังได้รับการจัดเป็นปลาจานในภัตตาคารต่าง ๆ หรือจะนำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงามก็ได้ สำหรับผู้เลี้ยง ปลาแรดเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายเช่นเดียวกับปลาสลิดราคาค่อนข้างสูง มีความอดทนต่อสภาพแวดล้อมและโรคได้เป็นอย่างดี ให้ผลตอบแทนต่อการลงทุนดีมีกำไรและไม่มีปัญหาเรื่องตลาด เป็นปลาที่เลี้ยงได้เป็นอย่างดีทั้งในบ่อและกระชัง มีอัตราการเจริญเติบโตรวดเร็ว สามารถแพร่ขยายพันธุ์ในบ่อได้ โดยเลี้ยงเพื่อขาย เป็นปลาเนื้อหรือปลาสวยงามปลาแรดสามารถเลี้ยงเป็นปลาสวยงามหรือเป็นอาหารซึ่งตลาดผู้บริโภคต้องการน้ำหนักประมาณ 1 กิโลกรัม

credit: http://www.bestfish4u.com/best-fish-information-rat.php

ประวัติและความเป็นมาของปลาดุกอุย


 ปลาดุกอุย เป็นปลาน้ำจืดของไทยชนิดหนึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Carias macrocephalus พบว่ามีการแพร่กระจายทั่วไปเกือบทุกภาค ของประเทศไทยและในประเทศใกล้เคียงเช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ พม่า และบังกลาเทศ ฯลฯ ปลาดุกอุยเป็นปลาที่มีรสชาติดดี ประชาชนชาวไทยโดย ทั่วไปนิยมรับประทานแต่มีราคาค่อนข้างสูงต่อมาเกษตรกรนิยมเลี้ยงปลาดุกด้าน ปลาดุกบิ๊กอุย(สำหรับปลาดุกบิ๊กอุยซึ่งเป็นปลาดุกลูกผสมจากพ่อปลาดุกอัฟริกัน กับแม่ปลาดุกอุยซึ่งให้ผลผลิตและมีความต้านทานโรคสูง มีอัตราการเจริญเติบโตเร็ว) ทำให้เกษตรกรหันมาให้ความสนใจเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยกันอย่างแพร่หลาย ทั่วทุกภูมิภาค แต่อย่างไรก็ตามปลาดุกอุยก็นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นที่ต้องการของเกษตรกรผู้เพาะพันธุ์ปลาโดยวิธีผสมเทียมในการผลิตลูกปลาดุกบิ๊กอุย เนื่องจากต้องใช้เป็นแม่พันธุ์ และผู้บริโภคที่พอใจในคุณภาพของเนื้อปลาดุกอุยที่อ่อนนุ่มและเหลืองน่ารับประทาน


ประวัติและความเป็นมาของปลานวลจันทร์


ปลานวลจันทร์เทศ เป็นปลาที่มีพื้นเพเดิมอยู่ในตอนเหนือของประเทศอินเดีย ปลาตัวนี้เป็นปลาชนิดหนึ่งในจำนวน 3 ชนิดจากประเทศอินเดียที่ได้นำเข้ามาในประเทศไทย ได้แก่ ปลายี่สกเทศ ปลานวลจันทร์เทศ และปลากะโห้เทศ ปลานวลจันทร์เทศได้ถูกนำเข้ามาประเทศไทย 2 ครั้งด้วยกัน
ครั้งแรกเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2523 โดย น.ท.สว่าง เจริญผล อธิบดีกรมประมง โดยนำพันธุ์ปลานี้มาจากบังกลาเทศประมาณ 100 ตัว ภายหลังได้นำมาเลี้ยงและทดลองเพาะพันธุ์ที่สถานีประมงน้ำจืด จังหวัดเชียงใหม่ได้สำเร็จเป็นครั้งแรก
ครั้งที่สองเป็นพันธุ์ปลาที่นำพันธุ์มาจากประเทศลาว และทราบในโอกาสต่อมาว่า ดร. วี อาร์ พันทูลู (Dr. V.R. Pantulu) ผู้เชี่ยวชาญประมงด้านสิ่งแวดล้อมของโครงการพัฒนาแม่น้ำโขง เป็นผู้นำมาจากประเทศอินเดีย และมอบให้สถานีประมงท่าโง่น ประเทศลาว ต่อมา มร.เอ็ม วี กุปตา (Mr.M.V. Gupta) ผู้เชี่ยวชาญประมงโครงการพัฒนาแม่น้ำโขงตอนล่าง ได้เป็นผู้นำเอาปลานวลจันทร์เทศนี้มาจากสถานีประมง ท่าโง่น เป็นปลาขนาดพ่อ-แม่พันธุ์ หนักประมาณ 700-800 กรัม จำนวน 8 คู่ และ ลูกปลาจำนวนประมาณ 500 ตัว มามอบให้สถานีประมงจังหวัดกาฬสินธุ์เมื่อประมาณเดือนสิงหาคม 2525 และได้ทำงานเพาะพันธุ์สำเร็จในปีเดียวกันนั้น จากนั้นพันธุ์ปลาดังกล่าวก็ถูกนำไปเพาะเลี้ยงในสถานีประมงอื่น และฟาร์มเอกชนต่างๆ ในภาคตะวันออกเฉืยงเหนือ และแพร่ลงมาในภาคกลางในปีต่อมา
http://www.thaikasetsart.com/


ประวัติและความเป็นมาของปลากดเหลือง

ปลากดเหลือง ปลาน้ำจืดในอันดับปลาหนัง (Siluriformes) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hemibagrus filamentus อยู่ใ

 ปลากดเหลืองเป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจสูง มีราคาดี เนื้อมีรสชาติดีเป็นที่นิยมของผู้บริโภคทั้งในรูปสดและแปรรูป เช่น แกงเหลือง ฉุ่ฉี่ และย่าง ฯลฯ มีชื่อสามัญ Green Catfish และมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mytus nemurus ได้รับการตั้งชื่อครั้งแรกโดย Cuvier และ Valencieness ในปี ๒๔๓๖ ปลากดเหลืองมีการเรียกชื่อแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น ซึ่งชาวประมงแถบจังหวัดกาญจนบุรี เรียกว่า ปลากดกลาง หรือปลากลาง แถบจังหวัดฉะเชิงเทรา และชลบุรีเรียกว่า ปลากดนาหรือปลากดเหลือง แถบจังหวัดสุราษฐฎร์ธานีเรียกว่า ปลากดฉลอง แถบจังหวัดปัตตานีและนราธิวาส เรียกว่า อีแกบาวง แต่ปลาชนิดนี้ประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศไทย เรียกว่า ปลากดเหลือง
http://www.aquatoyou.com/


ประวัติและความเป็นมาของปลาช่อน


ปลาช่อนเป็นปลาพื้นเมืองของไทยพบอาศัยแพร่กระจายทั่วไปตามแหล่งน้ำทั่วทุกภาคของไทยอาศัยอยู่ในแม่น้ำลำคลอง ทะเลสาบ อ่างเก็บน้ำ หนองและบึง ปลาช่อนเป็นปลาน้ำจืดที่มีมาหลายร้อยพันปีแล้วนอกจากจะพบในประเทศไทยยังมีแพร่หลายในประเทศจีน อินเดีย ศรีลังกา อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์   มีข้อมูลที่น่าเชื่อถือว่าการเลี้ยงปลาช่อนในประเทศไทยเกิดขึ้นครั้งแรกที่อำเภอสองพี่น้องจังหวัดสุพรรณบุรีประมาณ 40 ปีมาแล้ว โดยชาวจีนที่ตลาดบางลี่ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรีซึ่งเป็นนายทุนได้รวบรวมลูกพันธุ์จากแหล่งน้ำธรรมชาติในเขตพื้นที่อำเภอสองพี่น้องมาทดลองเลี้ยงดู  และเห็นว่าพอเลี้ยงได้จึงออกทุนให้กับคนญวนที่มีภูมิลำเนาติดกับแม่น้ำท่าจีนและคลองสองพี่น้องในตำบลสองพี่น้องตำบลต้นตาล โดยสร้างกระชังไนล่อนแล้วแต่ขนาดและความเหมาะสม นำลูกปลาช่อนมาลงเลี้ยง โดยผลผลิตที่ได้นายทุนจะรับซื้อเองแต่ทำได้ไม่นานก็ต้องเลิกเพราะเกษตรกรบางรายนำลูกปลาช่อนไปลองเลี้ยงในบ่อดินและพบว่าได้ผลดีกว่าและต้นทุนต่ำกว่าและปริมาณลูกปลาช่อนที่ได้รับก็มีจำนนวนมากกว่า
http://www.fisheries.go.th/
ประวัติและความเป็นมาของปลาตะเพียน
ปลาตะเพียนขาวเป็นปลาพื้นเมืองและเป็นปลาที่คนไทยทั่วทุกภาค ของประเทศรู้จักปลาตะเพียนขาวมีชื่อสามัญหรือภาษาอังกฤษว่า Jawa หรือ carp มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Puntius gonionotus (Bleeker) เป็นปลาที่สามารถ นำมาเลี้ยงและเพาะขยายพันธุ์ได้ง่ายจึงเป็นปลาพื้น เมืองที่ได้รับการคัดเลือกให้ส่งเสริมในการเพาะเลี้ยงชนิดหนึ่ง ในด้านโภชนาการนั้นเป็นปลาที่ได้รับ ความนิยมอย่างกว้างขวางในหมู่คนไทยทั้งในเมืองและ ชนบท การเพาะเลี้ยงปลาตะเพียนขาวได้ดำเนินการเป็นครั้งแรกก่อนปี พ.ศ. 2503 ที่สถานีประมง (บึงบอระเพ็ด) นครสวรรค์ต่อมาการเพาะพันธุ์ปลาชนิดนี้ ได้รับการพัฒนาทั้งวิธีเลียนแบบธรรมชาติและผสมเทียม ซึ่งสามารถ เผยแพร่ และจำหน่ายอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน

http://www.fisheries.go.th/

ประวัติและความเป็นมาของปลาไน



 ปลาไนเป็นปลาชนิดแรกที่มนุษย์นำมาเลี้ยง มีต้นกำเนิดอยู่ในประเทศจีน โดยชนชาติจีนเป็นผู้ริเริ่มนำปลาชนิดนี้มาเลี้ยงก่อนชนชาติอื่น ๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 68 หรือ ก่อนคริสต์ศักราช 475 ปี และต่อมาก็ได้นิยมเลี้ยงกันแพร่หลายเกือบทั่วประเทศในโลก สำหรับประเทศไทย ชาวจีนได้นำปลาชนิดนี้เข้ามาเลี้ยงเมื่อประมาณ 70 กว่าปีมาแล้ว ซึ่งในเวลานั้นยังไม่แพร่หลายมากนัก รู้จักกันแต่เพียงผิวเผินว่าปลาเมืองจีนเท่านั้น แต่พี่น้องชาวไทยทางแคว้นสิบสองจุไทยนิยมเลี้ยงปลาชนิดนี้มาก่อน โดยเรียกชื่อปลาชนิดนี้ว่า "ปลาไน" ซึ่งภาษาจีนเรียก "หลีฮื้อ" หรือ "หลีโกว" ในแถบภาคพื้นยุโรปและอเมริกา เรียกว่า "คอมมอนคาร์พ" (Common carp) แม้การบริโภคปลาไนในประเทศไทยยังอยู่ในแวดวงจำกัด แต่มีแนวโน้มว่าปลาชนิดนี้จะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพราะสามารถเลี้ยงในนาข้าวได้ผลดี นอกจากนี้ การเพาะพันธุ์ยังทำได้ง่ายอีกด้วย

http://dnfe5.nfe.go.th/